โรคต้อกระจกในสุนัข รักษาได้

33054 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ดีใจจัง ตาน้องหมากลับมามองเห็นอีกครั้ง

น้องโชกุน เป็นสุนัขพันธุ์ Jack Russell Terrier อายุ 3  ปี 7 เดือน  มีภูมิลำเนาอาศัยอยู่กับเจ้าของที่จังหวัดกระบี่ ได้เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกโดยทีมสัตวแพทย์คลินิกโรคตาโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ ด้วยเทคนิคการผ่าตัดชั้นสูงคือการสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Phacoemulsification )  จนสามารถกลับมามองเห็นและทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับเจ้าของได้ตามปกติอีกครั้ง

คุณนภาสิริ สัจจาภินนท์  เจ้าของสุนัขกล่าวว่า “ ตอนแรกยังไม่รู้ว่าน้องโชกุนเป็นโรคต้อกระจก เพียงแต่สังเกตเห็นว่าตาของน้องโชกุนเริ่มขุ่นเหมือนมีวุ้นอยู่ภายในตา จึงตัดสินใจพาไปพบสัตวแพทย์ใกล้บ้านซึ่งคุณหมอก็บอกว่าน้องไม่เป็นอะไรมาก แต่หลังจากนั้นอีกหลายเดือนพบว่าน้องโชกุนเองเริ่มมีพฤติกรรมในการทำกิจวัติประจำวันต่างๆที่ผิดปกติไปจากเดิม เช่น จากเดิมที่ขึ้นลงบันไดได้ดี ก็มีความรู้สึกกลัวไม่กล้าที่จะวิ่งขึ้นลงเหมือนเก่า เวลาที่โยนของเล่นให้ก็จะหาของเล่นไม่เจอ เวลาพาไปทะเลปกติจะวิ่งลงทะเลเลย แต่พบว่าตอนหลังๆพบน้องโชกุนจะมีอาการกลัวและไม่กล้าที่จะลงเล่นน้ำทะเลเหมือนเดิม จึงตัดสินใจพาน้องมากรุงเทพเพื่อทำการรักษา เมื่อพบทีมสัตวแพทย์ คลินิกโรคตาโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ  คุณหมอบอกว่าน้องเป็นโรคต้อกระจก ซึ่งคุณหมอก็แนะนำให้ทำการผ่าตัด ตอนแรกก็กลัวว่าน้องโชกุนจะทนไหวหรือไม่ กลัวว่าผ่าแล้วจะมองไม่เห็น กลัวว่าผ่าแล้วจะเกิดอะไรขึ้นขณะผ่าตัด แต่ก็มีความไว้วางใจในโรงพยาบาลเนื่องจากคิดว่าที่นี้มีเครื่องมือที่ทันสมัย บุคลากรที่มีคุณภาพ จึงตัดสินใจให้น้องโชกุนผ่าตัด
หลังจากผ่าตัดแล้วพบว่า น้องโชกุนสามารถกลับมามองเห็นได้อีกครั้ง ทำกิจกรรมได้ดังเดิม ก็รู้สึกดีใจ และรู้สึกดีกับการผ่าตัดในครั้งนี้  ตอนนี้ก็ยังเหลืออีกตาอีกข้างซึ่งรอการทำการผ่าตัดตัดอยู่ซึ่งคิดว่าจะได้ทำการผ่าตัดในเร็ววันนี้คะ”

ทีมสัตวแพทย์คลินิกตาโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ กล่าวถึงโรคต้อกระจกว่า
“เมื่อแก้วตามีลักษณะขุ่นขาวผิดไปจากธรรมดาไม่ว่าที่ตำแหน่งใดหรือจากสาเหตุใดก็ตามจะเรียกว่า
 “ต้อกระจก”

ซึ่งแก้วตา ( Lens ) ของสุนัขโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นเลนส์นูน ใส มีความโค้งนูนทั้ง 2 ด้าน  มีหน้าที่สำคัญร่วมกับกระจกตาในการรวมแสงไปโฟกัสบนจอตา ( Retina ) โดยแก้วตามีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำและโปรตีนโดยร้อยละ 65 เปอร์เซ็นต์  เป็นน้ำและร้อยละ 35 เปอร์เซ็นต์ เป็นโปรตีนส่วนที่เหลือเป็นไขมันและแร่ธาตุอื่นๆ ความขุ่นของแก้วตาเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น โปรตีนของแก้วตามีการแปลงสภาพ
( Protein denaturation ) ที่พบได้ในคนและสัตว์สูงอายุ การที่ดวงตาได้รับบาดเจ็บหรือเคยมีการอักเสบรุนแรงโรคทางระบบบางชนิด เช่น การป่วยเป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น 
อาการแสดงของสัตว์ป่วยขึ้นอยู่กับความมากหรือน้อยของแก้วตาที่ขุ่นตัว  อาจสังเกตเห็นแก้วตาที่ขุ่นขาวในเวลากลางคืนเนื่องจากในภาวะที่มีแสงน้อยรูม่านตาจะขยายออกเพื่อรับแสงทำให้มองเห็นแก้วตาที่ผิดปกติได้ชัดเจนกว่าความจำเป็นในการรักษาต้อกระจกขึ้นอยู่กับความมากหรือน้อยของการมองเห็นที่ลดลง  โอกาสของการมองเห็นภายหลังการผ่าตัด  สัตว์มีโรคของระบบอื่น ( Systemic disease ) ร่วมด้วยและโรคนั้นเกี่ยวข้องกับการเกิดต้อกระจกหรือไม่และท้ายสุดต้อกระจกมีสาเหตุจากโรคภายในลูกตาหรือก่อให้เกิดปัญหาภายในลูกตาหรือไม่ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งยาหยอดตา ยากิน หรืออาหารบางชนิดที่แนะนำว่าช่วยชะลอต้อกระจกได้ แต่ก็แค่ช่วยชะลอเท่านั้นค่ะ
สำหรับการรักษาที่ให้ผลดีที่สุดคือการผ่าตัดเพื่อนำเอาแก้วตาที่เป็นต้อกระจกออกแล้วใส่แก้วตาเทียมให้กับสัตว์ป่วย  ในปัจจุบันได้มีการนำเทคนิคการผ่าตัดชั้นสูงคือการสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
( Phacoemulsification ) ซึ่งเครื่องมือและเทคนิคในการผ่าตัดต้อกระจกนั้นทำเช่นเดียวกับคนที่ แต่ในสุนัขอาจจะต้องมีการวางยาสลบเพื่อความสะดวกและปลอดภัยของสุนัขระหว่างการผ่าตัด
หลังผ่าตัด จะมีการให้สุนัขได้มีการพักฟื้นที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 4 วัน เพื่อวัดความดันตาเช้า-เย็น หยอดตาเพื่อลดการอักเสบทุกชั่วโมง และเพื่อดูแลติดตามผลการผ่าตัดอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งในรายของน้องโชกุนก็ได้ทำการผ่าตัดด้วยวิธีการสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
( Phacoemulsification ) จนทำให้น้องโชกุนกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้งหนึ่ง
 
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คลินิกโรคตา โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อสาขา
(สุขุมวิทลาดพร้าว สิรินทร-ปิ่นเกล้า แจ้งวัฒนะ และศรีนครินทร์) โทร 02-712-6301

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้