28592 จำนวนผู้เข้าชม |
Pets Health Club โดย... ดร.ชุลีรัตน์ บรรจงลิขิตกุล โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนองในสุนัข (Canine Pyoderma) Pyoderma เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยครั้งในสุนัขซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจำพวก Staphylococcus โดยอาจมีพยาธิสภาพเนื้อเยื่อและลักษณะทางคลินิกแตกต่างกัน เช่นบางครั้งพบว่ามีการติดเชื้อเฉพาะบริเวณผิวชั้นนอกและในบางครั้งพบว่ามีการติดเชื้อของผิวหนังชั้นในลึกลงไปหรืออาจพบ Pseudop yoderma (ผิวหนังอักเสบเป็นหนองเทียม) ที่ไม่ใช่อาการของ pyoderma ที่แท้จริงเป็นเพียงอาการแทรกซ้อนและไม่สามารถรักษาด้วยยาต้านการติดเชื้อ การเกิดพยาธิสภาพของโรค pyoderma โดยปกติบนผิวหนังและขุมขนของสัตว์จะพบกลุ่มแบคทีเรียที่ปรับตัวได้ดีเจริญอยู่และจะทำหน้าที่สร้างภูมิต้านทานให้แก่ผิวหนังดังนั้นบริเวณที่มีอาการอักเสบหรือเกิดบาดแผลรุนแรงจะทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง คือ มีความชื้นและอุ่นพอเหมาะที่จะทำให้แบคทีเรียที่ก่อโรคมีการเจริญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วดังเช่น Staphy lococcusintermedius แบคทีเรียก่อโรคชนิดแกรมบวกที่พบได้มากในสุนัขที่เป็นโรค pyoderma นอกจากนี้ยังพบชนิด Staphylococcus aureus และ Staphylococcus hyicus ส่วนสุนัขที่มีสุขภาพผิวหนังดีอาจพบ Staphylococci บ้างตามพื้นผิวของผิวหนังแต่จะมีปริมาณต่ำมากและจะอยู่แบบชั่วคราวมากกว่าอยู่ถาวรแต่จะพบ Staphylococci อาศัยอยู่บริเวณเยื่อเมือกของทวารหนักจมูก ปาก ตาขาว และอวัยวะสืบพันธุ์ เมื่อสุนัขกัดเห็บหมัดบริเวณผิวหนังหรือเลียขนจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พบเชื้อ Staphylococci บนผิวหนังและขุมขน หากมีบาดแผลหรือการอักเสบบริเวณที่เลียก็จะก่อให้เกิดบาดแผลอักเสบติดเชื้อและเป็นหนองขึ้น สำหรับผิวหนังบริเวณที่มีต่อมไขมันมากจะมีโอกาสเกิดโรค pyoderma ได้มากกว่าบริเวณผิวหนังส่วนอื่นๆ กลุ่มของโรค Pyodermas ที่พบในสุนัขจำแนกได้ดังนี้ 1.Surface pyoderma หรือ superficial pyoderma มีการติดเชื้อแบคทีเรียเฉพาะชั้นผิวส่วนนอก สามารถรักษาให้หายขาดได้ พบได้บ่อยมากทางคลินิก ได้แก่ Acutemoist dermatitis สาเหตุมักจะเกิดจากการระคายเคืองหรือคันตามผิวหนังบริเวณที่มีปรสิตโดยเฉพาะเห็บและหมัด ทำให้สุนัขกัดและเกาหรือถูบริเวณผิวหนังที่คันอย่างรุนแรง จนขนหลุดร่วง ผิวหนังถลอกและเกิดบาดแผลอย่างรวดเร็ว บริเวณขอบๆ ของแผลจะมีสีแดง ตรงกลางพบฝ้าจับอยู่เปียกแฉะด้วยน้ำหนองจากการติดเชื้อ Staphylococcus บาดแผลจะขยายกว้างอย่างรวดเร็ว การรักษามักจะใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดบริเวณบาดแผลตามด้วยการทายาที่สมารถสมาน แผลและระงับอาการคัน 2. deeppyoderma มีการติดเชื้อแบคทีเรียในส่วนลึกของผิวหนังตั้งแต่ระดับขุมขนจนถึงหนังแท้ (dermis) และใต้ผิวหนัง (subcutaneous tissue) อาการค่อนข้างรุนแรง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สำหรับโรคในกลุ่ม deep pyoderma มักจะมีสาเหตุหลายประการ แต่ที่พบในคลินิกมักจะเป็นปรสิตที่ก่อให้เกิดโรคเรื้อนขุมขนทั้งตัว ลักษณะของแผลอักเสบในสุนัขกลุ่มนี้จะมีอาการเห่อแดง บวมน้ำ และมักพบแผลกลาย (ulcer) หรือแผลรูลึก ( fistulas) ร่วมด้วยเสมอ การรักษา ทำเช่นเดียวกับในกลุ่ม serface pyodermas ถ้ามีแผลรูลึกมากก็จำเป็นต้องช่วยให้หายเร็วโดยการผ่าตัดขูดเลาะเนื้อตายออกก่อนทำการรักษาอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษในบางครั้งอาจมีการให้ยาปฏิชีวนะร่วมกับการรักษาเฉพาะที่ อย่างไรก็ตามการรักษาโรคผิวหนังในกลุ่มของ Pyodermas ของสุนัขควรจะให้สัตวแพทย์เป็นผู้วินิจฉัยเพื่อผลในการรักษาและการรักษาที่เหมาะสม ก่อนที่จะเกิดการลุกลามของการการติดเชื้อลงในส่วนลึกของผิวหนังทำให้การรักษายากยิ่งขึ้น ขอขอบคุณ ดร.ชุลีรัตน์ บรรจงลิขิตกุล ฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เอื้อเฟื้อข้อมูลในการเผยแพร่ |