โรคอ้วนของสัตว์เลี้ยง

7173 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่
 
หลายๆท่านคงเคยประสบปัญหาเหล่านี้บ้างนะคะ สัตว์เลี้ยงที่กำลังเลี้ยงอยู่เริ่มมีอาการเริ่มท้วมๆ หรือบางรายเริ่มอ้วน  จนทำให้สัตว์เลี้ยงเหล่านั้นเริ่มมีอาการเดินลำบากหรือบางรายเริ่มมีโรคที่ไม่พึงประสงค์ตามมา วันนี้สัตวแพทย์คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อที่ได้รับ ISO 9000: 2001 จะมาบอกเล่าเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับความอ้วนให้ได้รู้จักและรับมือกับโรคดังกล่าวให้มากยิ่งขึ้นนะคะ

โรคอ้วน คืออะไร?

โรคอ้วนคือ ภาวะที่มีสัดส่วนไขมันในร่างกายมากกว่ากล้ามเนื้อ สัตว์เลี้ยงหลายตัวมีน้ำหนักเกินที่ควรจะเป็น ซึ่งเจ้าของส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า ความอ้วน (น้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ 20%) หลายท่านคงมีคำถามในใจว่าความอ้วนนี้ถือเป็นโรคด้วยหรือ ? แต่จริงๆแล้วความอ้วนนี้ถือว่าเป็นโรคที่สำคัญและอันตรายมากเพราะถ้าสัตว์เลี้ยงเกิดโรคอ้วนแล้ว โรคที่ไม่พึงประสงค์อื่นๆจะมาจนมากมายคาดไม่ถึงเลยทีเดียว เช่นโรคหัวใจ โรคข้อและกระดูก โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไขมันอุดตันในส้นเลือด โรคผิวหนัง และอาจมีผลข้างเคียงจากการวางยาซึม ยาสลบในการผ่าตัด

สัตว์เลี้ยงของคุณมีน้ำหนักเกินหรือไม่?
 แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าสัตว์เลี้ยงมีน้ำหนักเกินแล้ว วันนี้คุณหมอจะมาบอกเล่าวิธีการตรวจที่เจ้าของสามารถตรวจได้ด้วยตนเอง การตรวจทำได้โดยใช้นิ้วหัวแม่มือลูบไปมาบริเวณกลางหลัง ใช้นิ้วชี้จับซี่โครง
- ถ้าจับซี่โครงได้ง่าย ผ่านชั้นกล้ามเนื้อบาง แสดงว่าปกติ
- ถ้าจับซี่โครงได้ลำบาก มีชั้นไขมันหนา นั้นแสดงว่าสัตว์เลี้ยงของท่านมีน้ำหนักมากแล้ว
- แต่ถ้าไม่สามารถจับกระดูกซี่โครงได้บริเวณดังกล่าวถูกปกคลุมไปด้วยไขมัน แสดงว่าสัตว์เลี้ยงของท่านอ้วน แมวมักสะสมไขมันตามท้อง ใบหน้า ส่วนสุนัขจะสะสมมากที่อกและท้อง

ปัจจัยที่โน้มนำให้เกิดโรคอ้วน
- เจ้าของให้อาหารมากเกินไปไม่จำกัด
- ให้อาหารลุกสุนัข แมวมากเกินทำให้สร้างเซลล์ไขมันมากซึ่งเซลล์ดังกล่าวจะอยู่ตลอดไป
- สัตว์เลี้ยงกินเยอะมากทั้งนี้เกิดจากอาหารสำเร็จรูปส่วนใหญ่มักมีแร่ธาตุ ไขมันมาก เพื่อปรุงรสให้อร่อยมากขึ้น และสารอาหารดังกล่าวทำให้เกิดดารสะสมในร่างกาย
- พฤติกรรมการห้อาหารสัตว์เลี้ยง เช่น เจ้าของให้อาหารปรุงเองหรือเศษอาหาร
- สัตว์มีนิสัยขี้เซาชอบนอน ออกกำลังกายน้อย
- สัตว์อายุมาก จะทำให้ความกระตือรือร้นน้อยลง
- สัตว์เพศเมียมักอ้วนกว่าเพศผู้
- สัตว์ที่ทำหมันมักอ้วนได้ง่าย
- สัตว์ที่เป็นโรคหรือผิดปกติของฮอร์โมน เช่นไทรอยด์ จะทำให้อ้วนง่าย

ผลจากการมีน้ำหนักเกิน
- โรคข้ออักเสบ
- โรคหัวใจ
- ความดันโลหิตสูง
- โรคผิวหนัง
- หายใจลำบาก
- โรคเบาหวาน
- โรคตับ
- มีความเสี่ยงในการวางยาสลบ

การควบคุมโรคอ้วน
หลักการ คือ ลดการให้สารอาหารพลังงานและสลายอาหารดังกล่าวมากขึ้น โดยกินกากใยอาหารมากขึ้น กินพวกไขมัน และอาหารพลังงานสูงน้อย ออกกำลังกายมากขึ้น หลังจากที่ลดน้ำหนักตัวแล้ว ควรตรวจเช็คสูตรอาหารเพื่อเป็นการโรคอ้วนต่อไป

การจัดการกับความอ้วน
- กินอาหารพลังงาน-ไขมันลดลง
- แบ่งให้อาหารสัตว์เป็นวันละ 3-4 มื้อ
- ให้สัตว์อยู่นอกบ้านขณะปรุงอาหารหรือกำลังกินอาหาร
- ห้ามหยิบยื่นอาหารให้สัตว์เลี้ยง
- ออกกำลังกายบ่อยๆ
- เช็คข้อมูลน้ำหนักเรื่อยๆโดยชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์ ขณะควบคุมน้ำหนัก เพื่อดูผลการจัดการ
- กินอาหารควบคุมน้ำหนัก ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์

เป็นยังไงคะ ได้ทำความรู้จักกับโรคอ้วนกันบ้างแล้วนะคะ น่ากลัวกว่าที่คิดมากใช้ไม่คะ แต่อย่างไรก็ตามทุกๆท่านก็สามารถที่จะป้องกันและควบคุมสัตว์เลี้ยงแสนรักของท่านไม่ให้เป็นโรคอ้วนได้นะคะ ถ้าอ่านจบแล้วอย่าลืมหันกลับไปลองคลำสัตว์เลี้ยงที่อยู่ข้างตัวนะคะว่าเป็น “โรคอ้วน” หรือยังเพื่อให้พวกเค้าอยู่กับเราไปได้นานและมีความสุขมากที่สุดคะ

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อทุกสาขา (สุขุมวิท 55 ลาดพร้าว ปิ่นเกล้า แจ้งวัฒนะ ศรีนครินทร์ ) โทร 02-712-6301


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้