สุนัขที่ก้าวร้าวเนื่องจากมีโรค

11470 จำนวนผู้เข้าชม  | 


บทความพิเศษ
สุนัขที่ก้าวร้าวเนื่องจากมีโรค
Medical Causes of Aggression in Dogs
สนับสนุนบทความโดย โรงพยาบาลสัตว์เอ็น.พี.


สุนัขที่ก้าวร้าวและกัดบางตัวที่เข้าทำร้ายคนหรือสัตว์  ทั้งพวกที่แสดงอาการ  แยกเขี้ยวเข้าใส่, ขู่คำราม, เห่าอย่างดุร้าย, งับ, เข้ากัด, หรือพุ่งเข้าใส่  อาจเป็นเนื่องจากพฤติกรรม และ/หรือเนื่องจากมีโรคบางโรคซ่อนอยู่ทำให้เป็นสาเหตุของการก้าวร้าวและทำร้าย  โรคที่อาจทำให้ดุร้าย เช่น

ไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroidism)
โรคไทรอยด์ต่ำเกิดเนื่องจากต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้น้อยลงกว่าปกติ  สังเกตได้จากสุนัขที่เป็นจะอ้วน, เฉื่อยชาหรือซึมกว่าปกติ, ขนร่วง ฯลฯ  การวินิจฉัยโดยการตรวจเลือดหาระดับของฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์   แต่สุนัขบางตัวก็ไม่แสดงอาการให้เห็นเนื่องจากโรคมีการแสดงออกได้หลายระดับ
อย่างเช่น  สุนัขบางรายมีระดับฮอร์โมนต่ำกว่าปกติที่จะทำงานได้ แต่ผลเลือดออกมาว่าฮอร์โมนไทรอยด์ยังอยู่ในค่าปกติ อาการที่แสดงออกอาจเห็นเพียงบางอย่างหรือไม่แสดงอาการเลย  
ตัวอย่างที่ 2 คือ สุนัขอายุ 2 ปีพันธุ์โกลเด้นท์รีทรีฟเวอร์  ชอบหลบซ่อนตัวและก้าวร้าวมากชอบกัด  ตรวจไทรอยด์ได้ประมาณ 25%  ค่าปกติควรอยู่ที่ระดับ 50-100%  ฮอร์โมนจึงจะสามารถทำงานได้ตามปกติ  ถ้าให้ฮอร์โมนไทรอยด์สังเคราะห์ทดแทนจนถึงระดับปกติอารมณ์และพฤติกรรมของสุนัขก็กลับเข้าสู่ปกติ
อาการของฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำที่มีอาการให้เห็นน้อย เช่น สุนัขบางพันธุ์ เช่น โกลเด้นท์รีทรีฟเวอร์, สุนัขตระกูลเช็ทแลนด์

อาการที่เห็นอื่น ๆ เช่น มีขนร่วงเป็นหย่อม ๆ , ชอบหลบซ่อนตัว, ติดเชื้อง่าย, เป็นภูมิแพ้, อาการเป็นสัดไม่สม่ำเสมอในสุนัขตัวเมีย, และมีแนวโน้มที่จะมีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ มีพฤติกรรมก้าวร้าวผิดไปจากตัวอื่น ๆ ในสายพันธุ์เดียวกัน ค่าฮอร์โมนไทรอยด์อยู่ในระดับต่ำแต่ยังอยู่ในช่วงปกติ เมื่อได้รับการรักษาด้วยการให้ฮอร์โมนสังเคราะห์ทดแทนอาการจะดีขึ้นใน 5 วัน  รายที่ตอบสนองช้าจะกินเวลาประมาณ 4 สัปดาห์

สุนัขที่ได้รับฮอร์โมนสังเคราะห์ทดแทนต้องได้รับการตรวจระดับฮอร์โมนอย่างสม่ำเสมอ  ทุก  4-6  สัปดาห์ในระยะที่ปรับระดับฮอร์โมน  และอาจต้องเจาะเลือดหลังได้รับยา  4-6  ชั่วโมงแล้ว จุดประสงค์เพื่อดูว่าระดับฮอร์โมนขึ้นไปสู่ระดับปกติแต่อยู่ในค่าที่สูง มีปัญหาทางระบบประสาทหลังคลอดหรือเกิดโรคทางระบบประสาท สุนัขที่คลอดออกมาแล้วพบว่ามีอาการทางระบบประสาท หรือเกิดอาการทางประสาทเนื่องจากได้รับบาดเจ็บหรือป่วยเป็นโรค  อาจก่อผลกระทบให้สุนัขเกิดความก้าวร้าว  ซึ่งโรคต่าง ๆ ที่พบมีดังต่อไปนี้คือ
มีน้ำในสมอง (Hydrocephalus) พบมากในสุนัขพันธุ์หน้าสั้น สมองอักเสบ (Encephalitis) อาจเกิดจากแบคทีเรียหรือไวรัสก็ได้ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า, ไข้หัดสุนัข  เป็นต้น
ได้รับอุบัติเหตุทางสมอง เนื้องอกในสมอง โรคลมชัก

น้ำในสมอง (Hydrocephalus)    
โรคนี้เป็นโรคที่เกิดมาแล้วพบว่ามีน้ำไปอยู่ในช่องว่างของสมองมากเกินไป  ทำให้ช่องว่างในสมอง (ventricles) ขยายใหญ่ขึ้นทำให้เนื้อสมองถูกเบียดให้บางลง  สุนัขพันธุ์ที่พบเป็นมาก คือ พันธุ์หน้าสั้น และพันธุ์เล็กหรือพวกทอยบรีด
บางรายเป็นเล็กน้อยอาจไม่แสดงอาการอะไรมากนัก ในรายที่เป็นมากจะมีอาการทางประสาทให้เห็นรวมทั้งก้าวร้าวผิดปกติ  สมองอักเสบ (Encephalitis)
 ภาวะใด ๆ ก็ตามที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบของสมองเช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย, หรือเชื้อไวรัส  จะก่อให้เกิดอาการทางประสาทรวมทั้งดุกว่าปกติได้  การวินิจฉัยส่วนมากทำโดยการเจาะน้ำไขสันหลังมาตรวจซึ่งต้องมีการวางยาสลบสัตว์ อุบัติเหตุที่ศีรษะ (Head trauma)
เมื่อสมองได้รับความกระทบกระเทือนบริเวณที่ได้รับอันตรายจะมีอาการบวม และมีเลือดออก  ทำให้การทำงานของสมองผิดปกติ  จึงแสดงออกด้วยอาการทางระบบประสาทหรือดุร้ายกว่าปกติ
เนื้องอกในสมอง(Brain tumors)
 มักพบในสุนัขที่อายุมาก  โดยมีอาการดุร้ายขึ้น และบุคลิกเปลี่ยนไปจากเดิม  โดยสังเกตจากอาการที่แสดงออก  และการทดสอบระบบประสาท  อาจมีการฉายภาพรังสีร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้

โรคลมชัก (Epilepsy)
สุนัขที่เป็นโรคลมชักอาจมีการชักเป็นบางครั้ง  โดยเฉพาะภายหลังจากการชักเสร็จใหม่ ๆ จะมีอาการดุร้ายกว่าปกติ  เมื่อหายจากอาการชักก็จะกลับเป็นปกติตามเดิม  ดังนั้นช่วงที่เกิดอาการชักจึงควรระวังเป็นพิเศษ  สุนัขที่จะเกิดอาการชักมักมีอาการดังต่อไปนี้ คือ
อารมณ์เปลี่ยนไปจากเดิม
เกิดดุร้ายขึ้นมาทันทีทันใดโดยไม่มีเหตุผล
มีอาการน้ำลายยืด, ม่านตาขยาย, และอาจปล่อยกลิ่นออกมาจากต่อมข้างก้น
อาการดุร้ายอาจมีเพียงไม่กี่นาทีไปจนถึงเป็นวัน
เมื่อชักไปแล้วระยะฟื้นตัวสุนัขมักซึม, เงื่องหงอย, ไม่ตอบสนองกับเจ้าของ, บางรายตาเหม่อลอยจ้องกำแพง หรือบางรายก็หลับ  สุนัขที่เป็นโรคลมชักต้องได้รับยากันชักอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 1 ปี บางรายต้องกินยาไปตลอดชีวิต
บางครั้งสุนัขอยู่ในอาการกึ่งจะชักแต่ไม่ชัก  สุนัขอาจมีอาการภายนอกดูปกติดีแต่บางครั้งก็ชอบทำร้ายเนื่องจากภาวะนี้สุนัขจะมีพฤติกรรมผิดไปจากปกติ
การชักเนื่องจากพฤติกรรมเปลี่ยน
ดังที่กล่าวมาแล้วว่าภาวะกึ่งชักแต่ไม่ชักทำให้พฤติกรรมเปลี่ยน  ซึ่งจะไปกระ ตุ้นให้สุนัขดุร้ายขึ้น  (สมองส่วนที่ควบคุมความก้าวร้าว คือ สมองส่วน ไฮโปทาลามัส และ ส่วนลิมบิคซิสเต็ม) พันธุ์ที่เกิดอาการดังกล่าวบ่อย คือ  สปริงเกอร์สแปเนี่ยล, ค๊อกเกอร์สแปเนี่ยล, เช็คสเปียร์เบย์รีทรีฟเวอร์, บูลเทอร์เรีย, พูเดิ้ล และโกลเด้นท์รีทรีฟเวอร์ 

 Dr. Nicholas Dodman


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้