โรคเกี่ยวกับการสะสมของสารบางอย่างในระบบประสาท

7777 จำนวนผู้เข้าชม  | 



บทความพิเศษ
โรคเกี่ยวกับการสะสมของสารบางอย่างในระบบประสาท
สนับสนุนบทความโดย โรงพยาบาลสัตว์เอ็น.พี.

โรคนี้เป็นโรคทางพันธุกรรมเกิดเนื่องจากเมตาบอลิซึมผิดปกติ โดยจะมีสารบางอย่างไปสะสมมากผิดปกติ ซึ่งในทางสัตวแพทย์มักจะเป็น ไลโซโซมอล (Lysosomal) และ ไกลโคเจน (Glycogen) ที่เข้าไปสะสมในเนื้อเยื่อมากเกินปกติ
 การสะสมของสารเหล่านี้ในระบบประสาทเป็นความบกพร่องทางพันธุ์กรรม ที่ขาดเอ็นไซม์และไม่สามารถทำให้เมตาบอลิซึมเป็นไปอย่างปกติ  เกิดโรคได้ทั้งในสุนัขและแมว  โรคนี้พบได้น้อยมาก  เนื่องจากเป็นโรคทางพันธุกรรม  สัตว์ที่แสดงอาการจึงมักเป็นลูกสัตว์ Lysosomal storage diseases  พบได้ในสุนัขพันธุ์  เยอรมันช๊อตแฮร์พอยต์เตอร์,  อิงลิชเซ็ทเทอร์,  บีเกิ้ล,  Cairn terrier,  Blue tick hound  และ  เวสต์ไฮแลนด์ไวท์เทอร์เรีย Glycogen storage diseases  พบได้ในสุนัขพันธุ์เยอรมันเชพเพอร์ด
 
อาการที่แสดงออก
Lysosomal storage disease  มีผลกับอวัยวะหลายระบบ ส่วนมากมักมีอาการทางระบบประสาท
สุนัขไม่เจริญเติบโต
เดินโซเซ (Ataxia)
ชัก (Seizures)
ออกกำลังไม่ได้  (Exercise intolerance)
นิสัยเปลี่ยน (Behavioral change)
มองเห็นไม่ชัด

ส่วนอาการของ Glycogen storage diseases จะไม่ค่อยชัดเจนและอาการไม่ค่อยเฉพาะ
การเจริญเติบโตและพัฒนาการของกล้ามเนื้อต่ำ
หมดสติหรือขี้กลัว ชัก

การวินิจฉัย
ประวัติและพันธุ์สุนัขจะเป็นเครื่องบ่งบอกที่ดี
ตรวจนับเม็ดเลือด  (CBC)
ตรวจค่าเคมีในเลือด (Biochemical profile)
ตรวจปัสสาวะ
ฉายภาพรังสี
ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง
ตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ
ตรวจระดับการทำงานของเอ็นไซม์

การรักษา
ให้สารน้ำและเกลือแร่ในกรณีที่สัตว์เพลียและขาดน้ำ
เป้าหมายของการรักษา  Glycogen storage diseases  เพื่อควบคุมและป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยการให้อาหารที่เหมาะสม ควรจำกัดการออกกำลังกายสัตว์และในกรณีที่เป็น  Lysosomal storage diseases  ไม่ควรให้พบคนแปลกหน้า บางรายจะอ่อนแอติดเชื้อโรคง่าย

การดูแล
ให้อาหารที่เหมาะสมกับโรคเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการรักษา  เจ้าของอาจต้องคอยตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ,  ดูภาวการณ์เจริญเติบโต  และอย่าให้สัตว์อยู่ในสภาพขาดน้ำ  โดยเฉพาะในรายที่เป็นโรค Glycogen storage diseases ส่วนโรค Lysosomal storage diseases  สัตว์มักตาย
สัตว์ที่ผสมสายเลือดชิดมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้สูง  สัตว์ที่เป็นโรคนี้ไม่ควรใช้ทำพันธุ์

โดย : Dr. Bari Spielman


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้