การแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่ดีของสุนัข

14625 จำนวนผู้เข้าชม  | 


การแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่ดีของสุนัข

             แม้แต่สุนัขที่มีนิสัยดีมากๆก็พัฒนาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้เมื่อถูกเลี้ยงในบ้านซึ่ง  มิสภาพแวดล้อมจำกัด การป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ไขเสมอ จึงควรฝึกสุนัขให้เชื่อฟังคำสั่งตั้งแต่อายุยังน้อย จะช่วยป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้มาก การแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์จะต้องกลับไปใช้บทฝึกหัดสุนัขขั้นพื้นฐานใหม่ร่วมกับการพัฒนาวิธีการหรือเทคนิคที่จะให้สุนัขตอบสนองต่อคำสั่งด้วยความเต็มใจโปรดระลึกเสมอว่า สุนัขจะไม่ทำร้ายเจ้าของ
ความเคียดแค้นเป็นพฤติกรรมของสัตว์ตระกูลไพรเมต เช่น มนุษย์เท่านั้น
          สุนัขตะกละ การขโมยอาหาร สุนัขมีสัญชาตญาณในการออกหาอาหารและกินทุกอย่างที่กินได้ ถ้าปล่อยปละละเลยอาจกลายเป็นสุนัขขี้ขโมยในที่สุด
           วิธีแก้ไข สอนให้นั่งลงก่อนให้อาหาร และให้อาหารจากภาชนะของตนเท่านั้น เมื่อสุนัขเรียนรู้ว่าจะกินอาหารต้องฟังคำสั่งก่อน ก็จะไม่ขโมยกินอาหารแม้เมื่อไม่มีใครอยู่ อย่างไรก็ดี ควรเก็บอาหารในที่ซึ่งสุนัขไม่สามรถขโมยได้ สุนัขที่แสดงพฤติกรรมทางเพศมากเกินไป การแสดงความต้องการทางเพศสูง สุนัขเพศผู้วัยหนุ่มที่ยังไม่ได้ตอน อาจแสดงพฤติกรรมด้วยการปีนขี่ขาเจ้าของหรือเครื่องเรือน ซึ่งมักพบในสุนัขเพศผู้อายุ 1-2 ปี สุนัขเพศเมียในฤดูผสมพันธุ์ก็อาจมีพฤติกรรมดังกล่าวได้ วิธีแก้ไข เปลี่ยนความสนใจของสุนัขโดยฉีดน้ำใส่สุนัขทันทีเพื่อให้สุนัขรู้ว่าเป็นพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์ การตอนสุนัขอาจป้องกันพฤติกรรมเหล่านี้ได้ สุนัขที่อยู่โดยลำพัง ความกระวนกระวายเมื่ออยู่โดยลำพัง เมื่อทิ้งสุนัขให้อยู่ในบ้านโดยลำพังสุนัขบางตัวอาจเห่าหอนหรือร้องครวญคราง พฤติกรรมนี้มักพบในสุนัขที่ขาดความอบอุ่นในระยะที่เป็นลูกสุนัข หรือสุนัขที่เปลี่ยนเจ้าของบ่อย
วิธีแก้ไข ควรให้ของที่สุนัขชอบเล่นโดยเจ้าของใช้มือถูเพื่อให้มีกลิ่นติดที่ของเล่นหรือให้ท่อนกระดูกสดไว้กัดแทะ ไม่ควรทำให้สุนัขรู้สึกว่าเป็นเรื่องราวใหญ่โตเมื่อเจ้าของจะออกจากบ้าน สุนัขอาจจะรู้สึกอบอุ่นขึ้นหากได้อยู่ในกรง

           

             สิ่งที่ควรรู้สำหรับเจ้าของสุนัขเกี่ยวกับแคลเซียม แคลเซียมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ช่วยสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง มีความจำเป็นสำหรับกล้ามเนื้อที่ปรกติ การทำงานของเส้นประสาท และการแข็งตัวของโลหิต อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อมูลผิดๆเกิดขึ้นเกี่ยวกับบทบาทของแคลเซียมที่มีอยู่ในอาหารสำเร็จอยู่บ่อยๆเจ้าของสุนัขควรรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแคลเซียมดังนี้ อาหารสุนัขที่มีแคลเซียมมากหรือน้อยเกินไปจะทำให้กระดูกผิดปรกติ ถ้าได้รับแคลเซียมน้อย ในขณะเดียวกันก็ได้รับฟอสฟอรัสและวิตามินดีน้อยด้วย จะทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อน กระดูกจะงอเมื่อรับน้ำหนักของตัวสุนัข นับว่าโชคดีที่โรคนี้จะไม่ปรากฏให้เห็นถ้าให้สุนัขกินอาหารสำเร็จที่มีคุณภาพสูง เจ้าของสุนัขบางคนให้แคลเซียมในอาหารมากเกินไปในสุนัขที่โตแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสุนัขพันธุ์ใหญ่ ซึ่งอาจทำให้โครงกระดูกผิดปรกติได้ แคลเซียมจะไม่ทำงานอย่างโดดเดียว แร่ธาตุในสารอาหารจะมีความสัมพันธ์กันและไม่สามารถแยกออกมาเป็นตัวๆได้
           การเกิดของกระดูกและฟันต้องอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างแคลเซียม และฟอสฟอรัสในอัตราส่วนที่เหมาะสม หากมีธาตุตัวใดตัวหนึ่งในสองตัวมากหรือน้อยเกินไป จะไปขัดขวางการใช้ธาตุอีกตัวหนึ่งของสุนัข ในอาหารสุนัข ควรมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสในอัตราส่วน 1.2 ถึง 2.0ส่วนของแคลเซียมต่อ1.0 ส่วนของฟอสฟอรัส หากอัตราส่วนของแคลเซียมกว้างออกไป

                   

               จากอัตราที่กำหนด อาจเป็นอันตรายต่อการที่มีหินปูนมาเกาะตามกระดูก หากปริมาณของฟอสฟอรัสในอาหารมากกว่าปริมาณของแคลเซียม ความผิดปรกติของกระดูกอาจเกิดขึ้นได้ การดูดซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัสเข้าไปในกระดูกและฟันต้องวิตามินดีในอาหารในปริมาณที่เพียงพอ ความต้องการวิตามินดีในอาหารในปริมาณที่เพียงพอ ความต้องการวิตามินดีของสุนัขและแมวมีผลมาจากระดับและอัตราส่วนของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในอาหารหากได้รับวิตามินดีมากเกินไป อาจเป็นพิษกับสุนัข สุนัขโตไม่ต้องการแคลเซียมเสริมจากการให้ดื่มนมเพิ่ม มีสุนัขและแมวที่โตแล้วจำนวนมากไม่สามารถย่อยนมจำนวนมากๆที่ให้เป็นอาหาร นมประ กอบด้วยแล็คโตส ซึ่งต้องอาศัยน้ำย่อยแล็คเตส ในการให้ความแตกตัวในทางเดินของลำไส้ ถ้าหากทางเดินของลำไส้มีน้ำย่อยแล็คเตสไม่พอ
               การกินนมเข้าไปมากๆอาจทำให้ท้องเสีย การเสริมแคลเซียมระหว่างการตั้งครรภ์ของสุนัขและแมว จะไม่ช่วยแก้การชักระหว่างตั้งครรภ์อาการชักที่ว่านี้ไม่ใช่โรคที่เกิดจากสารอาหาร แต่เป็นภาวะของการเผาผลาญอาหารในร่างกาย แคลเซียมในโลหิตจะถูกควบคุม โดยฮอร์โมนชนิดต่างๆเพื่อให้หลักประกันว่าเซลล์ของร่างกาย แต่ละเซลล์ได้รับแคลเซียมในปริมาณที่ต้องการ เมื่อสุนัขเพศเมียออกลูกความต้องการแคลเซียมจะเพิ่มขึ้น กระดูกเป็นแหล่งกำเนิดของแคลเซียมที่อุดมสมบูรณ์ แต่การดึงเอาแคลเซียมจากกระดูกจะขึ้นอยู่กับฮอร์โมนหลายตัว อาการชักจะเกิดขึ้น เมื่อฮอร์โมนไม่ช่วยทำให้แคลเซียมออกมาช่วยในการผลิตนมในปริมาณที่ต้องการมากกว่าปรกติ ในระหว่างที่เกิดการชักแคลเซียมที่อยู่ในโลหิตจะลดลง ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอและสั่นระริก ซึ่งเป็นอาการของโรคนี้ การรักษาพยาบาล อาการชักประกอบด้วยการให้แคลเซียมเข้าสู่กระแสโลหิตโดยตรง
              การรักษาที่ได้ผลอย่างรวดเร็วทำให้เกิดความเข้าใจผิดๆ คือคิดว่า ถ้าหากให้สุนัขที่ตั้งท้องด้วยแคลเซียมในปริมาณที่มากแล้วจะป้องกันการชักได้ การให้อาหารสำเร็จแก่สุนัขและแมวที่ผลิตขึ้นมาสำหรับทุกวัย สารอาหารที่ได้น่าจะเพียงพอสำหรับสัตว์ที่คลอดลูก การเสริมแคลเซียมจึงไม่จำเป็น นอกจากสัตวแพทย์จะแนะนำให้เสริมเท่านั้นการดูแลขนสุนัขพันธุ์ขนยาวขนสุนัขที่ยาวสลวยนอกจากจะดูสวยงาม ยังช่วยป้องกันความหนาวเย็น แต่ก็ต้องดูแลขนมากกว่าสุนัขที่มีขนสั้น สุนัขที่มีขนคล้ายไหม เช่น พันธุ์ยอร์กไชร์ เทอร์เรียร์จะไม่มีขนชั้นใน ในขณะที่แปรงขนจึงต้องระมัดระวังอย่าให้ขีดข่วนและระคายเคืองผิวหนัง สุนัขที่ขนยาวเช่นพันธุ์คอลลีและพันธุ์เชตแลนด์ ชีพด็อก จะมีขนชั้นในที่หนาแน่นซึ่งจะพันกันได้ง่ายมากถ้าไม่ได้ดูแลและแปรงขนอย่างสม่ำเสมอ

 

                  


การแปรงขนสุนัขที่มีขนยาว
         1.ใช้แปรงสลิกเกอร์ค่อยๆสางขนที่พันกันและเป็นปมอย่างนุ่มนวล ควรระมัดระวังอย่าฝืนดึงขน หรือแปรงอย่างรุนแรงจนทำให้สุนัขเจ็บ
            2.แปรงขนซ้ำอีกครั้งด้วยแปรงขนหมุด การแปรงในขั้นนี้ไม่ควรมีขนที่พันกันแล้ว
            3.ใช้หวีด้ามตรงที่มีซี่หวีกว้างหวีอีกครั้ง โดยเฉพาะช่วงขาที่มีขนยาว
     4.ตัดขนที่ยาวรอบเท้าโดยเฉพาะขนระหว่างนิ้วซึ่งเป็นบริเวณที่มักมีสิ่งสกปรกและสิ่งแปลกปลอมเข้าไปสะสม ทำให้เกิดการระคายเคือง
            5.ตัดขนบริเวณข้อขาเพื่อป้องกันการพันกันของขนที่ยาวซึ่งเป็นที่สะสมของสิ่งสกปรกและผิวหนังที่ตาย
การแปรงขนสุนัขที่มีขนคล้ายเส้นไหม เช่น สุนัขพันธุ์ยอร์กไชร์ เทอร์เรียร์
           1.ใช้แปรงสลิกเกอร์สางขนที่พันกันออกการสากขนที่เกาะกันเป็นก้อนต้องทำด้วยความระมัดระวัง อย่าดึงแรงจนกระทั่งขนขาด
            2.แปรงอีกครั้งด้วยแปรงขนสัตว์เพื่อทำให้ขนเงางามการแปรงขนในขั้นนี้ไม่ควรแปรงสะดุด
            3.แสกขนตามแนวกลางหลังแล้วหวีขนแต่ละด้านให้เหยียดลงอาจตัดแต่งด้วยกรรไกรให้เป็นระเบียบ
           4.เล็มขนรอบเท้าและหู และตัดเล็บด้วย 5.ขนที่ยาวเหนือตาควรเล็มออกหรือรวบด้วยริ้บบิ้นหรือโบ
การคลอดลูกแม่สุนัขจะมีอาการเบื่ออาหารประมาณ 1-2 วันก่อนคลอดและจะกระวนกระวาย พยายามหา
สถานที่คลอดเมื่อเริ่มคลอดถุงน้ำคร่ำจะแตกออก น้ำคร่ำที่นองพื้นอาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นน้ำปัสสาวะ อาการเบ่งจะถี่ขึ้นและแรงขึ้นตามลำดับ ลูกสุนัขตัวแรกควรจะคลอดออกมาภายใน 2 ชั่วโมง นับจากถุงน้ำคร่ำแตกและสุนัขจะเริ่มเบ่งระยะเวลาในการคลอดลูกแต่ละตัวอาจห่างกัน 10-80 นาที

 

          


การให้กำเนิด
            1.เมื่อเริ่มเบ่ง แม่สุนัขจะหายใจถี่และหอบ อุณหภูมิร่างกายลดลง กระสับกระส่าย สุนัขอาจไปหาที่ลับตาเพื่อคลอด ดังนั้น เจ้าของควรเฝ้าดูไว้
            2.ขณะเบ่งแม่สุนัขอาจลุกขึ้นยืนและหมุนตัวไปรอบๆ แต่บางตัวชอบนอนราบลงควรปล่อยให้แม่สุนัขเบ่งในท่าคลอดที่สุนัขเลือกเอง
           3.แม้จะเป็นลูกสุนัขครอกแรก แต่โด สัญชาตญาณ แม่สุนัขจะหันมาสำรวจลูกสุนัขและเลียน้ำคร่ำและเยื่อหุ้มตัวออก จากนั้นแม่สุนัขจะกัดสายสะดือและกินรกที่ออกมากับลูกสุนัข
         4.การที่แม่สุนัขเลียน้ำคร่ำออกจากปากและจมูกลูกสุนัขค่อนข้างแรงเป็นการให้ความอบอุ่นแก่ลูกและเป็นการกระตุ้นระบบหายใจของลูกสุนัขด้วย
            5.แม่สุนัขอาจจะหยุดพักในระหว่างการคลอดเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวลงและพร้อมที่จะเบ่งอีก
           6.ในระหว่างการคลอดลูกแต่ละตัว แม่สุนัขจะผ่อนคลายและพักนานขึ้น เพื่อรอเบ่งตัวใหม่ออกมา แม่สุนัขส่วนมากจะไม่ยอมให้ลูกกินนมจนกว่าจะคลอดลูกออกหมดแล้ว อย่าลืมดูว่ารกได้ถูกขับออกมาเท่าจำนวนลูกสุนัขหรือไม่
         7.แม้ว่าลูกสุนัขจะคลานไปไกลเพียงใด ถ้าแม่สุนัขได้ยินเสียงลูกร้องก็จะตามไปคาบกลับมาเนื่องจากแม่สุนัขตอบสนองต่อเสียงร้องของลูกแต้ถ้าลูกสุนัขคลานห่างออกไปโดยไม่ส่งเสียงร้องแม่สุนัขอาจจะไม่สนใจที่จะตามลูกกลับ
          8.เมื่อลูกสุนัขคลอดออกมาครบแล้ว แม่สุนัขจึงยอมให้ลูกดูดนมพร้อมๆกัน หากพบว่าแม่สุนัขมีนมไม่เพียงพอให้ลูกสุนัขกิน จะต้องปรึกษาสัตวแพทย์
      9.หลังจากลูกสุนัขดูดนมอิ่มแล้วแม่สุนัขจะเลียรอบอวัยวะเพศและทวารหนักของลูกเพื่อกระตุ้นการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ ทั้งนี้แม่สุนัขจะกินสิ่งที่ลูกขับถ่ายออกมาด้วย จนกระทั่งลูกอายุได้ 3 สัปดาห์ ซึ่งอาจเป็นสัญชาตญาณของสุนัขป่าที่ยังเหลืออยู่ในการกำจัดกลิ่นปฏิกูลของลูก เพื่อไม่ให้สัตว์ล่าเนื้ออื่นๆรู้การดูแลรักษาฟันสุนัข สุนัข ต้องการการดูแลเอาใจใส่ฟันเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการเกิดโรคเหงือกและโรคฟันผุ 

 

                 

การจับโปรแกรมเกี่ยวกับสุขภาพจึงมีความสำคัญ คุณควร
          1. ให้อาหารที่เป็นเม็ดหยาบแก่สุนัข ให้นมหรือขนมปังกรอบที่ผลิตขึ้นมาเพื่อสุนัข วันละครั้งอาหารที่แข็งจะช่วยขัดและทำความสะอาดฟัน โดยการเสียดสี
          2. ให้สุนัขได้ขบเคี้ยวกระดูกเทียมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เป็นต้นว่ากระดูกที่ทำมาจากหนังสัตว์ กระดูกข้อเท้าขนาดใหญ่ซึ่งไม่แตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ และกระดูกที่ทำจากไนล่อนชนิดแข็งจะได้ผลดี
          3.กำจัดหินปูนจากฟัน สุนัขที่อาศัยอยู่ในแถบ ที่มีน้ำกระด้าง จะเกิดหินปูนตามฟันหินปูนเป็นส่วนประกอบของฟอสเฟต คาร์บอเนตและสารอินทรีย์ เหลือแคลเซียมแหล่านี้จะละลายในกรด แต่จะตกตะกอนในน้ำลายของสุนัขที่มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ ควรกำจัดหินปูนที่เกิดขึ้นทันที หินปูนที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องผิดปกติ ถ้าหากไม่เอาใจใส่ หินปูนจะพอกหนาขึ้นกลายเป็นปลั๊กหรือแคลคิวลัส ซึ่งจะก่อให้เกิดโรคเหงือก แล้วในที่สุดก็จะกลายเป็นโรคเกี่ยวกับเยื่อหุ้มฟันอักเสบคราบหินปูนสามารถกำจัดโดยใช้สารละลายไฮโดรเจนเปอร์อ๊อกๆไซด์ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายยาแผนปัจจุบัน โดยใช้ชนิดความเข้มข้น 3 เปอร์เซ็นต์หรือจะใช้สารละลายของกรดเกลือชนิด 1 เปอร์เซนต์ก็ได้ชุปสารละลายดังกล่าวด้วยผ้าเนื้อหยาบ แล้วถูที่ฟันอย่างแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณด้านนอก ซึ่งติดกับเหงือก ซึ่งมีคราบหินปูนอยู่มากที่สุด ในกรณีที่เป็นมาก อาจจะต้องใช้เครื่องมือทำฟันขูด เพื่อทำให้แผ่นหินปูนที่หนาแตกออกแล้วทำการขัดฟันอีกทีหนึ่ง
        4. แปรงเหงือกและฟันของสุนัขสัปดาห์ละสองครั้ง ด้วยยาสีฟันของสุนัขด้วยแปรงชนิดขนนิ่มของเด็ก ถ้าไม่มียาสีฟัน ก็แนะนำให้ใช้โซดาผงหรือที่เรียกว่าโซเดียมไบคาร์บอเนต ไม่ใช้โซเดียมคาร์บอเนตนะครับ เพราะนั่นมันเป็นผงโซดาซักผ้า โปรแกรมเกี่ยวกับสุขภาพของช่องปากจะช่วยยืดอายุของฟันสุนัขของคุณและช่วยให้เข้ามีสุขภาพดีในปีต่อๆ ไปของชีวิ


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้